ค้นหาสินค้า

ต้นกล้วย

จำหน่ายต้นกล้วย กล้าและกิ่งพันธุ์กล้วย สอนการเพาะปลูกและสรรพคุณที่เป็นประโยชน์

ผู้ให้การสนันสนุน

กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50

กล้วยนำ้ว้ามะลิอ่อง กล้วยหอมทอง กล้วย108สายพันธุ์

ต้นกล้วยจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

เมล็ดพันธุ์ต้นกล้วย

กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50
กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 หนองใหญ่ ชลบุรี

ราคา 25.00 บาท /ต้น

กล้วยนำ้ว้ามะลิอ่อง กล้วยหอมทอง กล้วย108สายพันธุ์
กล้วยนำ้ว้ามะลิอ่อง กล้วยหอมทอง กล้วย108สายพันธุ์ องครักษ์ นครนายก

ราคา 15.00 บาท /หน่อ

กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หนองใหญ่ ชลบุรี

ราคา 25.00 บาท /ต้น

กล้วยเพาะเนื้อเยื่อ
กล้วยเพาะเนื้อเยื่อ เมืองปทุมธานี ปทุมธานี

ราคา 25.00 บาท /ต้น

#กล้วยตานีด่าง
#กล้วยตานีด่าง บางพลี สมุทรปราการ

ราคา 70.00 บาท /เม็ด

เมล็ดพันธุ์ กล้วยนวล หรือกล้วยหัวโต
เมล็ดพันธุ์ กล้วยนวล หรือกล้วยหัวโต ไทรน้อย นนทบุรี

ราคา 110.00 บาท /ซอง

เมล็ดพันธุ์กล้วยนวล เป็นกล้วยหายาก กล้วยประดับ กล้วยป่า
เมล็ดพันธุ์กล้วยนวล เป็นกล้วยหายาก กล้วยประดับ กล้วยป่า เมืองแม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน

ราคา 4.00 บาท /เมล็ด

จังหวัดที่ขายเมล็ดพันธุ์ต้นกล้วย

นนทบุรี (1 ร้าน)

แม่ฮ่องสอน (1 ร้าน)

สมุทรปราการ (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด เมล็ดพันธุ์ต้นกล้วย ทั้งหมดในเว็บ

ต้นกล้าต้นกล้วย

กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50
กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 หนองใหญ่ ชลบุรี

ราคา 25.00 บาท /ต้น

กล้วยนำ้ว้ามะลิอ่อง กล้วยหอมทอง กล้วย108สายพันธุ์
กล้วยนำ้ว้ามะลิอ่อง กล้วยหอมทอง กล้วย108สายพันธุ์ องครักษ์ นครนายก

ราคา 15.00 บาท /หน่อ

กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หนองใหญ่ ชลบุรี

ราคา 25.00 บาท /ต้น

กล้วยเพาะเนื้อเยื่อ
กล้วยเพาะเนื้อเยื่อ เมืองปทุมธานี ปทุมธานี

ราคา 25.00 บาท /ต้น

หน่อกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง
หน่อกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง คลองสามวา กรุงเทพมหานคร

ราคา 50.00 บาท /1ต้น

ขายหน่อกล้วยนาก
ขายหน่อกล้วยนาก ปากท่อ ราชบุรี

ราคา 150.00 บาท

กล้วยน้ำว้าเพรชปากช่อง 50
กล้วยน้ำว้าเพรชปากช่อง 50 เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 150.00 บาท

กล้วยน้ำว้านวลจันทร์ ราคาต้นละ310บาท
กล้วยน้ำว้านวลจันทร์ ราคาต้นละ310บาท บางพลี สมุทรปราการ

ราคา 310.00 บาท /ต้น?

กล้วยนิ้วนางรำ หน่อกล้วยนิ้วนางรำ
กล้วยนิ้วนางรำ หน่อกล้วยนิ้วนางรำ แกลง ระยอง

ราคา 590.00 บาท /ต้น

ขายหน่อกล้วยไข่พันธุ์เกษตรศาสตร์ 2 จำนวนมาก
ขายหน่อกล้วยไข่พันธุ์เกษตรศาสตร์ 2 จำนวนมาก วังน้ำเขียว นครราชสีมา

ราคา 5.00 บาท

ขายหน่อกล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่อง
ขายหน่อกล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่อง สามพราน นครปฐม

ราคา 25.00 บาท /ต้น

กล้วยน้ำว้าพันธุ์ปากช่อง ต้นละ 70 บาท ค่ะ
กล้วยน้ำว้าพันธุ์ปากช่อง ต้นละ 70 บาท ค่ะ กันทรวิชัย มหาสารคาม

ราคา 70.00 บาท

จังหวัดที่ขายต้นกล้าต้นกล้วย

กรุงเทพมหานคร (1 ร้าน)

นครปฐม (1 ร้าน)

นครราชสีมา (1 ร้าน)

ปราจีนบุรี (1 ร้าน)

มหาสารคาม (1 ร้าน)

ระยอง (1 ร้าน)

ราชบุรี (1 ร้าน)

เลย (1 ร้าน)

สมุทรปราการ (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นกล้าต้นกล้วย ทั้งหมดในเว็บ

ใบต้นกล้วย

กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50
กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 หนองใหญ่ ชลบุรี

ราคา 25.00 บาท /ต้น

กล้วยนำ้ว้ามะลิอ่อง กล้วยหอมทอง กล้วย108สายพันธุ์
กล้วยนำ้ว้ามะลิอ่อง กล้วยหอมทอง กล้วย108สายพันธุ์ องครักษ์ นครนายก

ราคา 15.00 บาท /หน่อ

กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หนองใหญ่ ชลบุรี

ราคา 25.00 บาท /ต้น

กล้วยเพาะเนื้อเยื่อ
กล้วยเพาะเนื้อเยื่อ เมืองปทุมธานี ปทุมธานี

ราคา 25.00 บาท /ต้น

ใบกล้วยน้ำไทแห้ง ใบกล้วยน้ำไท
ใบกล้วยน้ำไทแห้ง ใบกล้วยน้ำไท พระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา

ราคา 50.00 บาท /ก้าน

ใบกล้วยป่าตากแห้ง
ใบกล้วยป่าตากแห้ง เมืองระยอง ระยอง

ราคา 125.00 บาท /ครึ่งโล

จังหวัดที่ขายใบต้นกล้วย

พระนครศรีอยุธยา (1 ร้าน)

ระยอง (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ใบต้นกล้วย ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกล้วยหักมุก ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa spp.

ชื่อภาษาอังกฤษ : Banana

ชื่ออื่นๆ : กล้วยหักมุกเชียว, กล้วยหักมุกทอง, กล้วยหักมุกนวล, กล้วยหักมุกส้ม

ลำต้น : เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเทียมสูง กาบลำต้นด้านนอกมีประดำเล็กน้อย ด้านในมีสีเขียวอ่อน

ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนานค่อนข้างยาว ปลายและโคนมน ขอบเรียบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างแคบ และมีครีบ เส้นกลางใบสีเขียวมีนวลทางด้านล่าง

ดอก : ออกเป็นช่อที่ปลายลำต้นเทียม ไม่มีขน ปลีรูปไข่ค่อนข้างป้อม ม้วนงอขึ้น ด้านบนป่านมีนวลหนา ด้านล่างมีสีแดงเข้ม

ผล : รูปทรงกระบอก ก้านผลยาว ปลายผลลีบลง มีเหลี่ยมชัดเจน เปลือกหนา มีนวลหนา เมื่อดิบสีเขียว เปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนเมื่อสุก เนื้อสุกสีส้มรสหวานปนเปรี้ยวเล็กน้อย

เมล็ด : ไม่มีเมล็ด

ต้นกล้วย

การขยายพันธุ์ของต้นกล้วยหักมุก

หน่อ

การดูแลต้นกล้วยหักมุก

เจริญเติบโตได้ดีในที่ดอน และไม่ชอบน้ำมาก

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นกล้วยหักมุก

- ผลดิบ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ

- หัวปลี แก้โรคโลหิตจาง ลดระดับน้ำตาลในเลือด และแก้โรคกระเพาะอาหารในลำไส้

- ยาง ช่วยในการห้ามเลือด และช่วยสมานแผล

- ผลสุก เป็นยาระบายขับถ่ายดีขึ้น บำรุงร่างกายและให้มีกำลังแข็งแรง และช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

ประโยชน์ของต้นกล้วยหักมุก

รับประทานเป็นผลไม้สด หรือนำไปแปรรูป


ลักษณะพฤกษศาตร์ของต้นกล้วยร้อยหวี ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa chiliocarpa Back.

ชื่ออื่นๆ : กล้วยงวงช้าง

ลำต้น : เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นเหง้าใต้ดิน ลำต้นเทียมเป็นกาบใบหุ้มซ้อนกัน แตกกอเช่นเดียวกับกล้วยทั่ว ๆ ไป

ใบ : เป็นใบเดี่ยวรูปขอบขนาน โคนมน ปลายตัด

ผล : มีขนาดเล็กเรียงเบียดกันแน่นในหวี เนื้อน้อย ผลสุกสีเหลือง รสหวานรับประทานได้ ออกผลเพียงปีละครั้ง

เมล็ด : มีขนาดเล็กจำนวนมาก

ดอก : ออกที่ปลายต้น เป็นปลีห้อยลงมา มีใบประดับ หรือกาบปลีแข็งห่อหุ้มช่อดอกย่อย มีไขบนกาบปลีมาก ใบประดับสีเหลืองอมเขียว ปลายแหลม เมื่อบานใบประดับจะกางออก มีงวงปลียาวเป็นพิเศษ มีลักษณะคล้ายงวงช้าง ออกปลี ปีละครั้ง

ต้นกล้วย

การขยายพันธุ์ของต้นกล้วยร้อยหวี

แยกหน่อ

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นกล้วยร้อยหวี

- ผลดิบ ทั้งเปลือกหั่นตากเเห้งป่นเป็นผงชงน้ำร้อนหรึอปั้นเป็นเม็ดรับประทานรักษาเเผลในกระเพาะอาหาร เเก้ท้องเสียเรื้อรัง เเผลเน่าเบื่อย เเผลติดเชื้อต่างๆ

- ผลสุก ใช้ด้านในทาส้นเท้าเเตก หัวปลีเเก้โรคโลหิกจางลดน้ำตาล ในเลือด เเก้เบาหวาน ส่วนรากต้มดื่มเเก้ไข้

ประโยชน์ของต้นกล้วยร้อยหวี

ปลูกเป็นไม้ประดับ


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกล้วยเทพพนม ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (ABB Group) ‘Thep Panom’

ชื่ออื่นๆ : กล้วยกุ้ง, กล้วยแดง

ลำต้น : เป็นลำต้นเทียม กาบลำต้นด้านนอกสีเขียว ตรงโคนสีชมพู ไม่มีไขมาก กาบลำต้นด้านในสีชมพู

ใบ : เป็นใบเดี่ยว ชูตั้งขึ้นหรือเฉียงเล็กน้อย ก้านใบมีครีบสีเขียว เส้นกลางใบสีเขียว เนื้อใบหนา หน้าใบสีเขียว หลังใบมีนวลสีขาว

ดอก : ก้านช่อดอกไม่มีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างป้อม ปลายแหลม ม้วนขึ้นเล็กน้อย ด้านบนสีม่วงอมเทา มีนวลมาก ด้านล่างสีแดงเข้ม การเรียงของใบประดับซ้อนกันลึก

ผล : ผลเป็นเหลี่ยมคล้ายกล้วยตานีหรือกล้วยหักมุก เปลือกผลหนาติดกันตลอดทั้งหวี และทั้งผลแถวบนแถวล่าง เป็นเปลือกแผ่นเดียวกัน มีร่องแบ่งผลเป็นตอนๆ หรือเป็นพู ทำให้ดูเหมือนมือกำลังพนมคว่ำปลายนิ้วลง เนื้อสุกสีขาวนวลปนเหลืองอ่อน ไส้กลางสีส้ม ไม่มีเมล็ด รสชาติหวานหอมคล้ายกล้วยหักมุก ติดผลตลอดปี

ต้นกล้วย

การขยายพันธุ์ของต้นกล้วยเทพพนม

แยกหน่อ

การดูแลต้นกล้วยเทพพนม

ปลูกได้ในดินเหนียวปนทราย ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด

ประโยชน์ของต้นกล้วยเทพพนม

- ผล รับประทานผลสุกและแปรรูป

- ใบ ใช้ห่ออาหาร


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกล้วยนาก ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AAA) ‘Nak’

ชื่อภาษาอังกฤษ : Red banana

ชื่ออื่นๆ : กล้วยกุ้ง กล้วยแดง กล้วยครั่ง กล้วยน้ำครั่ง

ลำต้น : เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเทียม กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวปนชมพูแดง มีปื้นสีดำบ้าง ด้านในสีชมพูอมแดง

ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนที่ปลายยอด แผ่นใบสีเขียวมีสีแดงเรื่อๆก้านช่อดอกสีแดง มีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายแหลมและม้วนขึ้น ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างสีแดงซีด มีครีบ เส้นกลางใบสีชมพูปนแด

ดอก : ปลีออกที่ปลายยอด ปลีรูปไข่ ปลายแหลม มีใบประดับสีแดงม่วง ออกดอกและติดผลตลอดปี

ผล : เครือกล้วยและผลมีสีแดงนํ้าตาล ผลสุกมีเนื้อในสีเหลือง ผลมีลักษณะกลม ก้านสั้น เนื้อสีส้ม รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย มีกลิ่นหอม และไม่มีเมล็ด กลิ่นหอมเย็น เนื้อนิ่มละเอียด

ต้นกล้วย

การขยายพันธุ์ของกล้วยนาก

แยกหน่อ

การดูแลต้นกล้วยนาก

เจริญเติบโตเร็วในทุกสภาพพื้นดิน ที่ระบายน้ำได้ดี มีแสงแดดส่องตลอดวัน

ประโยชน์ของต้นกล้วยนาก

- ผลสุกใช้รับประทานสดเป็นผลไม้

- ปลูกเป็นไม้ประดับ


ประวัติของกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง

กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง อยู่ในแทบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นกล้วยพันธุ์หนึ่ง พัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี บริโภคกันอย่างแพร่หลาย ปลูกง่าย รสชาติดี ไส้กลางไม่แข็งเมื่อแห้ง เนื้อเหนียวนุ่ม มีขนาดกะทัดรัด และมีกลิ่นหอมมากกว่ากล้วยน้ำว้าพันธุ์อื่น ๆ

เมื่อปี พ.ศ. 2475 กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องถูกนำมาปลูกที่อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก จากนั้นได้มีการขยายพันธุ์และปลูกจนเต็มพื้นที่ เพื่อจำหน่ายผลผลิตสด ประกอบกับลักษณะพื้นที่ตอนเหนือและตอนกลางของจังหวัดพิษณุโลก และตำบลท่าฬ่อ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง และมี ภูมิอากาศที่คล้ายคลึงกัน อีกทั้งยังมีดินตะกอนที่อุดมสมบูรณ์ สภาพอากาศร้อนเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกล้วย

ต้นกล้วย

วิธีการปลูกกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50

- เตรียมพื้นที่ปลูก โดยขุดหลุมขนาด 50*50 ซม. ระยะห่างระหว่างต้น * ระหว่างแถว 4*4 เมตร

-รองก้นหลุมด้วยมูลหมูหรือ ขี้ไก่แกลบ หลุมละ 1 กิโลกรัม โดยคลุกเหล้ากับหน้าดินปากหลุม อย่างละเท่าๆ กัน

- นำหน่อกล้วยน้ำว้าปากช่อง50 ที่เตรียมไว้ลงปลูก ฝังลึกเท่ากับคอหน่อ ให้น้ำวันละ 1 ชั่วโมงต่อต้น

- ใส่ปุ๋ยครั้งแรกเมื่ออายุได้ 1 เดือน โดยใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เดือนละครั้ง ครั้งละ 1 กำมือต่อต้น จนถึงเดือนที่ 8

- เดือนที่ 8 ควรมีการพูนโคนกล้วย

- หลังจากเดือนที่ 8 ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 เดือนละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 กำมือ จนกว่าจะเก็บเกี่ยว

- กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 จะออกปลีเมื่ออายุได้ 8-9 เดือน หลังจากออกปลีและไว้หวีพอแล้วให้ตัดปลีออกแล้วนับไปอีก 120 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้

หมายเหตุ กล้วยน้ำว้าปากช่อง50 ไม่ชอบอากาศหนาว และไม่ชอบอากาศแล้งมากๆ ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต วิธีแก้คือ ให้น้ำเยอะๆ

ต้นกล้วย

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง

- ราก ใช้ต้มดื่มแก้ไข้ ร้อนใน กระหายน้ำ ตลอดจนช่วยสมานแผลภายใน และอาการท้องเสีย ผื่นคัน หรือบิด ให้รสฝาดเย็น

- ใบ นำไปปิ้งไฟสามารถปิดแผลที่เกิดจากไฟไหม้ หรือต้มอาบแก้ผื่นคัน ให้รสเย็นจืด

- ยาง ช่วยในการห้ามเลือด และสมานแผล ให้รสฝาด

- ผลดิบ สามารถนำไปหั่นบดเป็นผง หรือชงน้ำร้อนรับประทาน ช่วยแก้อาการท้องเสียเรื้อรังที่เป็นสาเหตุให้อาหารไม่ย่อย และช่วยรักษาแผลที่เกิดในกระเพาะอาหารได้ ให้รสฝาด

- ผลสุก ใช้เป็นยาระบาย ช่วยในการขับถ่ายอุจจาระ ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง และรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ ให้รสหวาน

- หัวปลี ช่วยแก้โรคโลหิตจาง ลดระดับน้ำตาลในเลือด และแก้กระเพาะอาหารในลำไส้ ให้รสฝาด

- น้ำคั้นจากหัวปลี ช่วยบำรุงโลหิต แก้อาการถ่ายเป็นมูกเลือด ให้รสฝาดเย็น

ต้นกล้วย

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกล้วยหอมทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ วิธีการดูแล ประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์กล้วยหอมทอง : Musa acuminata

ลำต้นกล้วยหอมทอง : เป็นลำต้นเทียมลำต้นภายนอกจะมีกาบเป็นรอยประสีดำเล็กน้อย ส่วนภายในจะเป็นสีเขียวอ่อน และมีเส้นมีชมพู

ใบกล้วยหอมทอง : ใบยาว มีเส้นกลางใบเป็นสีเขียว มีร่องก้านใบกว้างและมีปีก

ดอกกล้วยหอมทอง : ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง มีไข ด้านล่างสีแดงซีด ใบประดับส่วนปลายจะมีลักษณะแหลมและม้วนขึ้น

ผลกล้วยหอมทอง : ใหญ่ ปลายผลมีจุกเห็นชัด เปลือกผลหนา เมื่ออ่อนเปลือกสีเขียว สุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทองภายในผลมีเนื้อละเอียดเป็นสีครีม สีเหลือง หรือสีส้มอ่อนๆ กลิ่นหอมและรสหวาน

เมล็ดกล้วยหอมทอง : ไม่มีเมล็ด

ต้นกล้วย

การขยายพันธุ์ของต้นกล้วยหอมทอง

การแยกหน่อ

การดูแลต้นกล้วยหอมทอง

ปลูกได้ในดินร่วนซุย ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด

ประโยชน์ของกล้วยหอมทอง

ผลสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้


การปลูกกล้วยน้ำว้าเพาะเลี้ยงเนื้อเยือ

- เดือนที่ 4 ให้ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 16-16-16 ประมาณ 100-150 กรัม ต่อต้นในเดือนที่ 4 และ 5 ส่วนเดือนที่ 6 ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักแทน หลังจากเดือนที่6 งดใส่ปุ๋ยจนกว่าจะแทงปลี แล้วใส่ปุ๋ยเคมีอีกครั้ง

- คัดเลือกพันธุ์ที่มีความสูง 15 เซนติเมตรขึ้นไป

- เตรียมแปลงปลูก ระยะ 3?3 หรือ 4?4 เมตร ขนาดหลุมปลูก 50x50x50 เซนติเมตร 1 กอควรมี 4 ต้น

- คลุกเคล้าปุ๋ยคอกผสมดินประมาณหลุมละ 2 กิโลกรัม รองก้นหลุมขึ้นมาประมาณ 30 เซนติเมตร และควรรองก้นหลุมด้วยฟูราดานป้องกันหนอนกอกล้วยประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อหลุม

- นำต้นกล้วบมาลงหลุม และกลบปริเวณโคนต้นให้แน่น และรดน้ำทันที

- เดือนแรกต้องรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ

- ครบหนึ่งเดือนให้ใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ประมาณ 100-150 กรัม ต่อต้น หลังปลูกได้ 1 เดือน และเดือนที่ 2 ส่วนเดือนที่ 3 ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักแทน

- เดือนที่ 2 และ 3 ให้ถภากหย็าบริเวณโคนต้น

- เดือนที่ 6 หรือ 7 กล้วยเริ่มแทงหน่อ และสะสมอาหารเพื่อการตกเครือ

- เดือนที่ 9 กล้วยเริ่มแทงปลี กล้วยจากการแทงปลีจนกระทั่งเก็บเกี่ยวมีอายุประมาณ 4 เดือน

ต้นกล้วย

การปลูกกล้วยเล็บมือนาง

2. ปลูกแปลงใหญ่ ให้ไถพรวนดินอย่างน้อย 1 รอบ พร้อมกำจัดวัชพืชออกให้โล่ง หากปลูกไม่กี่ต้นให้ถางวัชพืชบริเวณที่จะปลูกออกให้หมด แล้วทำการขุดหลุมปลูก

3. ขุดหลุมลุกประมาณ 50 เซนติเมตร กว้าง 50 * 50 เซนติเมตร โดยมีระยะห่างระหว่างหลุม และแถว ประมาณ 2.5?2.5 เมตร หลังจากนั้น ตากหลุมทิ้งไว้ 2-3 วัน

4. นำปุ๋ยคอกโรยรองก้นหลุม อัตรา 1-2 ถัง/หลุม ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ประมาณ 1 กำมือ/หลุม แล้วเกลี่ยดินหน้าปากหลุมลงผสมให้เข้ากัน

1. เตรียมต้นพันธุ์ ควรเลือกหน่อที่มีใบอ่อนแตกออกแล้ว 2-3 ใบ คือ เป็นใบที่มีแผ่นใบแคบ และสั้น หน่อที่ใช้ควรสูงประมาณ 60-120 เซนติเมตร ใบไม่มีรอยโรค และไม่มีประวัติการเกิดโรคในแหล่งหน่อพันธุ์มาก่อน

5. นำหน่อกล้วยวางลงหลุม โดยหันรอยแผลของหน่อกล้วยไปในทิศตะวันตก ซึ่งจะทำให้หน่อที่เกิดขึ้นใหม่หันไปทิศตะวันออก จากนั้น เกลี่ยดินกลบให้แน่น ควรตั้งหน่อกล้วยให้ตรงขณะเกลี่ยดินกลบ

6. ระยะแรกให้รดน้ำ เช้า เย็น ทุกวัน เมื่อเริ่มเติบโตขึ้นให้ลดการรดน้ำลง

7. หลังจากปลูกกล้วยประมาณ 15 วัน ใส่ปุ๋ยคอก หลุมละ 2 กิโลกรัม ทุก 15 วัน

8. ประมาณ 6 - 8 เดือน กล้วยจะออกปลี เมื่อกล้วยออกลูกสุดเครือจะมีปลีกกล้วยเหลือให้ตัดปลีกล้วยออกเพื่อการเติบโตเต็มที่ของผล

9. หลังจากปลูกกล้วยไปแล้วประมาณ 6 - 8 เดือนจะมีหน่อกล้วย จำนวน 4 - 5 หน่อ หน่อกล้วยจะแย่งอาหารจากต้นแม่ ทำให้เครือเล็ก ผลลีบ มีขนาดเล็กควรตัดหน่อที่เรียวเล็กออก เก็บหน่ออวบไว้ 3 หน่อ และ 3 ขนาด เพื่อจะได้ทดแทนตลอดกันตลอดไม่ขาดช่วงของการออกผล

10. หลังจาก 2.5 - 3 เดือนที่ออกปลี กล้วยจะเริ่มตัดเครือได้

ต้นกล้วย

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกล้วยไข่กำแพงเพชร ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa sapientum Linn. 'Kluai Khai Kamphaeng Phet'

ชื่อภาษาอังกฤษ : Lady Finger

ลำต้น : ลำต้นเทียม สูงประมาณ 2.4 เมตร มีเขียวแกมเหลือง มีปื้นสีน้ำตาลเล็กน้อย เส้นรอบวงยาวประมาณ 52.5 เซนติเมตร

ใบ : ก้านใบยาวประมาณ 40 เซนติเมตร สีเขียวเป็นร่องเปิด ขอบกว้างมีครีบ ใบอ่อนที่ยังม้วนอยู่สีเขียว เมื่อคลี่กางออกเต็มที่มีสีเขียวเป็นมัน แผ่นใบเป็นคลื่นกว้างประมาณ 59 เซนติเมตร ยาวประมาณ 225 เซนติดเมตร ปลายใบแปลม โคนใบสอบเรียวทั้งสองด้าน

ดอก : ก้านช่อดอกไม่มีขน สีเขียวเข้ม กว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร ปลีรูปคล้ายลูกข่าง กาบปลีสีแดงแกมม่วง ซ้อนทั้บกันบางส่วน ปลายม้วนจึ้น ด้านในสีส้มมีร่องปานกลาง ไหล่กาบปลีกว้างปานกลาง

ผล : เครือรูปทรงกระบอกมี 12 หวี ผลตรง พบซากก้านยอดเกสรเพศเมียติดที่ปลายผล ก้านผลเรียบ เชื่อกันบางส่วน ไม่มีขน ผลดิบสีเขียวอ่อน เนื้อผลสีครีม ผลสุกผิวสีเหลือง มีจุดดำเล็กๆ ประปรายบนเปลือก ผิวเรียบเงา เนื้อผลสีครีม นุ่ม รสหวาน ไม่มีเมล็ด เมื่อสุกมีความหวานไม่ต่ำกว่า 24 องศาบริกซ์

เมล็ด : ไม่มีเมล็ด

ต้นกล้วย

การขยายพันธุ์ของต้นกล้วยไข่กำแพงเพชร

โดยการใช้หน่อ และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ


การปลูกกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง

ต้นกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง
ต้นกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง
ต้นกล้ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง
ต้นกล้ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง
ผลกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง
ผลกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง

  1. เตรียมดินปลูกโดยไถพลิกกลับดินลึกประมาณ 30 เซนติเมตร และตากดินไว้ 7-10 วัน เพิ่อกำจัดวัชพืช
  2. ใส่ปุ๋ยหมักที่มีเชื้อไตรโคเดอร์มา เพื่อป้องกันโรคตายพราย แล้วไถพรวนกลบ
  3. หากพื้นที่เป็นดินเหนียวหรือที่มีน้ำท่วมขัง ควรยกร่องและปลูกบนแนวสันร่อง
  4. ระยะปลูก 4*4 เมตร หากดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำให้ปลูกระยะถี่ ความกว้างหลุมประมาณ 50 เซนติเมตร และลึกไม่ต่ำกว่า 30 เซนติเมตร วางแปลงในแนวทิศเหนือ-ใต้ ทำให้กล้วยได้รับแสงเท่ากันตลอด
  5. วางหน่อพันธุ์หรือต้นพันธุ์ไว้กลางหลุมแล้วกลบดินโดยรอบให้แน่น ในฤดูฝนควรพูนดินกลบโคนให้สูงเพื่อป้องกันน้ำขัง ส่วนในฤดูหนาและร้อนควรทำเป็นแอ่งเพื่อไม่ให้ดินแห้งเร็วจนเกินไป
  6. ควรให้น้ำสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก
  7. เดือนที่ 1 ใส่ปุ๋ยหมัก 1 กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 125 กรัมต่อต้น
  8. เดือนที่ 3 ใส่ปุ๋ยหมัก 1-2 กิโลกรัมต่อต้น
  9. เดือนที่ 4-5 ใส่ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 125 กรัมต่อต้น
  10. เดือนที่ 6 ใส่ปุ๋ยหมัก 1-2 กิโลกรัมต่อต้น เดือนนี้จะมีหน่อกล้วยขึ้นมาให้ไว้หน่อเพื่อแทนต้นแม่โดยหน่อที่ 1 และ 2 อายุห่างกันประมาณ 4 เดือน
  11. เดือนที่ 7 ใส่ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 125 กรัมต่อต้น หากจะนำไปแปรรูปเป็นกล้วยตากไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีตั้งแต่เดือนที่ 7 เพราะจะทำให้กล้วยมีปริมาณน้ำตาลมากเกินไป
  12. เมื่อกล้วยออกปลีได้ 100-120 วันให้ทำการตัดเครือกล้วย

การปลูกกล้วยน้ำว้าปากช่อง50

ขั้นตอนการปลูกกล้วยน้ำว้าปากช่อง50

ต้นกล้วย
ต้นกล้วย
ต้นกล้วย

  1. เตรียมแปลงปลูก 3*3 หรือ 4*4 เมตร ขนาดหลุม 50*50*50 เซนติเมตร
  2. ผสมดินกับปุ๋ยคอก หลุมละ 2 กิโลกรัม รองก้นหลุมประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วนำต้นกล้วยมาปลูกและกลบโคนต้นให้แน่น ทำแอ่งดินรอบต้นเพื่อเก็บน้ำรักษาความชื้น เมื่อปลูกเสร็จให้รดน้ำตามทันที
  3. ช่วงเดือนแรกควรให้น้ำสม่ำเสมอ ดินต้องชุ่มชื้นเพียงพอ การให้น้ำแบบฝอยหรือมินิสปริงเกอร์ จะทำให้ต้นตั้งตัวได้เร็วขึ้น หลังจากปลูกได้ 1 เดือนควรให้ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 16-16-16 ประมาณ 100-150 กรัมต่อต้น
  4. เดือนที่ 2 และ 3 ให้ปุ๋ยคอกหรือปู่ยหมัก
  5. เดือนที่ 4 ให้ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 16-16-16 ประมาณ 100-150 กรัมต่อต้น
  6. เดือนที่ 5 และ 6 ให้ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักแทน และจะใส่ปุ๋ยเคมีอีกครั้งเมื่อแทงปลี
  7. เดือนที่ 6 หรือ 7 ต้นกล้วยเริ่มแทงหน่อ 1 กอ ควรมีต้นกล้วย 4 ต้น
  8. ต้นกล้วยอายุ 8 เดือนควรมีการพูนโคน
  9. เดือนที่ 9 กล้วยเริ่มแทงปลี การแทงปลีจนกระทั่งเก็บเกี่ยวมีอายุประมาณ 4 เดือน

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง : Musa (ABB Group) ‘Namwa Mali Ong’

ลักษณะลำต้นของต้นกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง : เป็นกล้วยพันธุ์โบราณ เป็นไม้ล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน มีลำต้นเทียม สีของกาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียวอมเหลืองเล็กน้อย ไม่มีปื้นดำ ไม่มีนวล กาบด้านในสีเหลืองซีดสม่ำเสมอ มีปื้นแดง

ลักษณะใบของต้นกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง : ก้านใบค่อนข้างปิด ก้านใบสีเขียวอมแดง ขอบใบสีน้ำตาลแดง มีครีบก้านใบสีเขียว

ลักษณะดอกของต้นกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง : ใบประดับปลีค่อนข้างมน ปลายป้านม้วนงอขึ้นเป็นสีแดงอมม่วง

ลักษณะผลของต้นกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง : ขนาดค่อนข้างใหญ่ ทรงกระบอกแต่อ้วนและสั้นกว่ากล้วยน้ำว้าพันธุ์อื่น มีเหลี่ยมผล ปลายผลมีจุก ผลจะมีนวลสีขาวที่เปลือกทั้งผล เวลาผลสุกจะเป็นสีเหลืองนวลคล้ายมีแป้งฉีดพ่น เนื้อในสุกเป็นสีส้ม ไส้มีขนาดเล็ก เหนียวนุ่ม รสชาติหวานจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รับประทานอร่อยมาก

กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง
กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง

การขยายพันธุ์ของต้นกล้วยน้ำว่ามะลิอ่อง

โดยการแยกหน่อ และเพาะเนื้อเยื่อ

กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องเพาะเนื้อเยื่อ
กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องเพาะเนื้อเยื่อ
หน่อกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง
หน่อกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง

การดูแลต้นกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง

ปลูกได้ในดินร่วนปนดินเหนียว ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดตลอดวัน

กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง
กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง

ผลดิบสามารถใช้เป็นยารักษาอาการท้องเสีย

กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ประโยชน์ของต้นกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง

ผลกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องรับประทานสด และสามารถนำมาทำกล้วยตาก

กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง
กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ประโยชน์

ต้นกล้วย

  1. ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (ABB Group) 'Pakchong 50
  2. ลำต้น : ลำต้นเทียมสูงใหญ่ สีของกาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียว ไม่มีปื้นดำ ไม่มีนวล กาบด้านในสีเหลืองซีดสม่ำเสมอ มีปื้นแดง
  3. ใบ : ก้านใบค่อนข้างปิด ก้านใบสีเขียว มีครีบก้านใบสีเขียว
  4. ดอก : ก้านช่อดอกไม่มีขนอ่อน ๆ ใบประดับค่อนข้างยาว ด้านนอกสีม่วงอมแดง มีไข ด้านในสีแดงเข้มสม่ำเสมอ ปลายใบประดับแหลม ม้วนงอขึ้น การเรียงของใบประดับไม่ทับซ้อนเหลื่อมกัน ดอกมีก้านดอกค่อนข้างยาว
  5. ผล : ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีเหลือง ไส้ผลสีเหลืองไม่แข็ง เนื้อผลสีขาวอมเหลืองเล็กน้อย ผลมีขนาดใหญ่สม่ำเสมอ เปลือกค่อนข้างหนา เนื้อแน่น มีความหวานเล็กน้อย มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ไม่มีเมล็ด ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี

การขยายพันธุ์ของต้นกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50

โดยการแยกหน่อ และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

กล้วยน้ำว้าปากช่อง50แบบหน่อ
กล้วยน้ำว้าปากช่อง50แบบหน่อ
กล้วยเพาะเนื้อเยื่อ
กล้วยเพาะเนื้อเยื่อ

การดูแลต้นกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50

มีอัตราการเจริญเติบโตสูง

กล้วยน้ำว้าปากช่อง50 พันธ์แท้ 100%
กล้วยน้ำว้าปากช่อง50 พันธ์แท้ 100%

ประโยชน์ของต้นกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50

ผลรับประทานสด และยังเพิ่มมูลค่าจากการแปรรูปที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น กล้วยตาก กล้วยแผ่นอบ กล้วยกวน แป้งกล้วย กล้วยทอด รวมทั้งอาหารและขนมจากกล้วยน้ำว้าอีกมากมาย นอกจากนั้นทุกส่วนของกล้วยก็ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ไม่ว่าจะเป็นลำต้น ใบตอง หัวปลี

กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 เครือใหญ่ ผลใหญ่ ดกมาก
กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 เครือใหญ่ ผลใหญ่ ดกมาก