ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นคำมอกหลวง ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อภาษาอังกฤษของต้นคำมอกหลวง : Golden Gardenia
ชื่ออื่นๆ ของต้นคำมอกหลวง : ไข่เน่า, คำมอกช้าง, ผ่าด้ามยาง, มอกใหญ่, แสลงหอมไก๋, หอมไก๋
ลักษณะลำต้นของต้นคำมอกหลวง : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบช่วงสั้น ก่อนออกดอก ทรงพุ่มรูปกรวยคว่ำ เรือนยอดโปร่ง เปลือกลำต้นเรียบสีน้ำตาลอมเทา แตกกิ่งน้อย กิ่งอ่อนมีขน ปลายยอดมียางเหลืองข้นเป็นก้อนติดอยู่ ลำต้นคดงอ
ลักษณะใบของต้นคำมอกหลวง : เป็นใบเดี่ยวออกเป็นกระจุดที่ปลายยอด รูปรีหรือรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบมนหรือสอบ ขอบใบเรียบ หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ลักษณะเป็นปลอกรอบกิ่ง ใบอ่อนจะเป็นสีชมพูอ่อนถึงสีแดง มีขนสีเงิน ส่วนใบแก่หลังใบเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบมีขนละเอียด แผ่นใบหนาแข็งและกรอบ
ลักษณะดอกของต้นคำมอกหลวง : เป็นดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ หรือตามปลายยอด ดอกแรกแย้มเป็นสีขาวนวลและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ตลอดวัด และหอมแรงใกล้พลบค่ำ
ลักษณะผลของต้นคำมอกหลวง : เป็นผลสด มีเนื้อ สีเขียวเข้ม เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีดำ ผลเป็นรูปขอบขนาน ผิวมีปุ่มหูดกับช่องอากาศ มีติ่งที่ปลาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นคำมอกหลวง : Gardenia sootepensis Hutch.
การขยายพันธุ์ของต้นคำมอกหลวง
โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และทาบกิ่ง
การดูแลต้นคำมอกหลวง
ปลูกได้ในดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดเต็มวัน ทนแล้ง
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นคำมอกหลวง
- แก่นไม้ แก้อาการถ่ายเป็นมูกเลือด รักษาเบาหวาน
- เมล็ด เป็นยาฆ่าเหา
ประโยชน์ของต้นคำมอกหลวง
ปลูกเป็นไม้ประดับ