ลักษณะของเอื้องครั่งสายสั้น (3507)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrobium parishii Rchb.f.
ตระกูล: ORCHIDACEAE
ชื่อพื้นเมือง: เอื้องครั่ง, สายน้ำครั่ง, เอื้องครั่งสายสั้น, เอื้องอินทกริต
ลักษณะทั่วไป:
ต้น ลักษณะเป็นลำลูกกล้วย เป็นสาย โค้งลง ยาวประมาณ 15-30 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซม. ลำแก่จะทิ้งใบ
ใบ รูปขอบขนานแกมรูปหอก แผ่นใบบางและร่วงเมื่อเจริญเต็มที่ ใบยาวประมาณ 7-12 ซม.
ดอก เกิดตามข้อสั้นๆ ช่อละมี 1-3 ดอก บนลำที่ไม่มีใบ กลีบดอกสีม่วงแดง ปากม้วนเป็นหลอดแหลม ริมปากด้านในมีขนละเอียด ขอบปากหยักเป็นฝอยละเอียดสั้นๆ ขอบปากมีสีขาว มีแต้มสีม่วงเข้มอยู่ 2 แต้ม ด้านข้างของปากด้านใน ก้านดอกยาว 3-4 ซม. ขนาดดอกประมาณ 5-6 ซม. ดอกบานทนกว่า 1 สัปดาห์
ราก เป็นแบบรากกึ่งอากาศ (Semi-epiphytic)
ฤดูกาลออกดอก: มีนาคม – พฤษภาคม
ส่วนที่มีกลิ่นหอม: ดอก
การใช้ประโยชน์: ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด: ไทย จีน อินเดีย เมียนม่าร์ ลาว และเวียดนาม
แหล่งที่พบ: ป่าดิบและป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตก
ตระกูล: ORCHIDACEAE
ชื่อพื้นเมือง: เอื้องครั่ง, สายน้ำครั่ง, เอื้องครั่งสายสั้น, เอื้องอินทกริต
ลักษณะทั่วไป:
ต้น ลักษณะเป็นลำลูกกล้วย เป็นสาย โค้งลง ยาวประมาณ 15-30 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซม. ลำแก่จะทิ้งใบ
ใบ รูปขอบขนานแกมรูปหอก แผ่นใบบางและร่วงเมื่อเจริญเต็มที่ ใบยาวประมาณ 7-12 ซม.
ดอก เกิดตามข้อสั้นๆ ช่อละมี 1-3 ดอก บนลำที่ไม่มีใบ กลีบดอกสีม่วงแดง ปากม้วนเป็นหลอดแหลม ริมปากด้านในมีขนละเอียด ขอบปากหยักเป็นฝอยละเอียดสั้นๆ ขอบปากมีสีขาว มีแต้มสีม่วงเข้มอยู่ 2 แต้ม ด้านข้างของปากด้านใน ก้านดอกยาว 3-4 ซม. ขนาดดอกประมาณ 5-6 ซม. ดอกบานทนกว่า 1 สัปดาห์
ราก เป็นแบบรากกึ่งอากาศ (Semi-epiphytic)
ฤดูกาลออกดอก: มีนาคม – พฤษภาคม
ส่วนที่มีกลิ่นหอม: ดอก
การใช้ประโยชน์: ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด: ไทย จีน อินเดีย เมียนม่าร์ ลาว และเวียดนาม
แหล่งที่พบ: ป่าดิบและป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตก