ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นมะกรูด ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ สรรพคุณทางสมุนไพร ความเชื่อ ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus hystrix DC.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Leech lime, Mauritus papeda, Kaffir lime
ชื่ออื่นๆ : มะขุน, มะขูด, ส้มกรูด, ส้มมั่วผี
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน
ใบ : เป็นใบประกอบ ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม มีต่อมน้ำมันอยู่ตามผิวใบ มีกลิ่นหอมเฉพาะ ก้านใบมีปีกดูคล้ายใบ
ดอก : ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว
ผล : เป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ โคนผลเรียวเป็นจุก ผิวขรุขระ มีต่อมน้ำมัน ผลอ่อนสีเขียวแก่ สุกเป็นสีเหลือง มีรสเปรี้ยว
เมล็ด : กลมรี สีขาว
การขยายพันธุ์ของต้นมะกรูด
การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง การติดตา การต่อยอด และการเพาะเมล็ด
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นมะกรูด
- ราก กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะเป็นพิษ
- ผล เป็นยาขับเสมหะ แก้ไอ แก้ระดูเสีย ฟอกโลหิต และขับผายลม แก้ปวดท้องในเด็ก สระผมรักษาชันนะตุ รังแค
- ผิวจากผล เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น เป็นยาบำรุงหัวใจ
- ใบมะกรูด ช่วยยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
- น้ำมะกรูด ใช้แก้อาการเลือดออกตามไรฟัน
ความเชื่อของต้นมะกรูด
เป็นไม้มงคลที่นิยมปลูกไว้บริเวณบ้านอีกด้วย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน
ประโยชน์ของต้นมะกรูด
- นำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้
- ช่วยบำรุงผมให้เงางาม แก้อาการผมร่วง
- ช่วยดูดกลิ่นในรองเท้าหรือตู้รองเท้า
- ช่วยทำความสะอาดคราบตามซอกเท้าเพื่อลดความหมักหมม
- เปลือกของมะกรูดมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง
- นำมาใช้ในการประกอบอาหารและแต่งกลิ่นคาวหวานของอาหาร