ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกระท้อน ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sandoricum koetjape Burm.f. Mer.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Santol, Red sentol, Yellow sentol
ชื่ออื่นๆ : มะต้อง, มะติ๋น
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ เปลือกลำต้นชั้นนอกมีสีเทา มีจุดสีขาวเป็นวงบริเวณลำต้น ผิวเรียบ เปลือกไม่หลุดออก มียางสีแดงหรือสีน้ำตาล โคนต้นแก่เป็นพูพอน
ใบ : เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบย่อยรูปไข่หรือรูปรี โคนใบกลมหรือมน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่น ผิวใบเป็นคลื่น มีไขนวลปกคลุม ด้านล่างเส้นใบนูนเด่น ใบมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลือง แล้วค่อยๆ แดง แล้วจะร่วงหล่น ก้านใบมน
ดอก : ออกเป็นช่อตั้งตามปลายกิ่ง ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อนอมเหลือง กลิ่นหอมอ่อนๆ
ผล : เป็นผลเดี่ยวแบบผลสด กลมแป้น เปลือกหนา มียางสีขาวเล็กน้อย เมื่อแก่มีสีเขียวเข้ม เมื่อสุกมีสีเหลือง ผิวขรุขระ เนื้อนิ่ม ฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว ผิวมีขนแบบกำมะหยี่อ่อนนุ่ม
เมล็ด : กลมรี มีเยื่อหุ้มสีขาวเป็นปุยสีขาวมีรสเปรี้ยวหรือหวาน
การขยายพันธุ์ของต้นกระท้อน
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง
การดูแลต้นกระท้อน
ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดตลอดวัน ทนแล้ง ทนต่อโรคและแมลง เจริญเติบโตปานกลาง
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นกระท้อน
- ใบสด ใช้ขับเหงื่อ แก้ไข้
- เปลือกต้น รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แก้ท้องเสีย
- ราก เป็นยาขับลม แก้ท้องเสีย บิด เป็นยาธาตุ
- เปลือกลูก เป็นยาสมาน
- ผล แก้บวมและขับพยาธิ
ประโยชน์ของต้นกระท้อน
- ผล รับประทานเป็นผลไม้หรือนำมาทำอาหารคาวหวาน
- ลำต้น ใช้สร้างบ้านหรือทำเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ