ค้นหาสินค้า

กะพ้อ

ขายต้นกะพ้อราคาถูก ประดับบ้าน ต้นไม้ทำรั้ว และบังแดดให้ร่มเงา กะพ้อต้นเล็กต้นใหญ่ ปลูกในกระถาง วิธีดูแล

เมล็ดพันธุ์กะพ้อ

เมล็ดกะพ้อคอร์ดาต้า(Licuala Cordata)
เมล็ดกะพ้อคอร์ดาต้า(Licuala Cordata) เมืองปทุมธานี ปทุมธานี

ราคา 120.00 บาท /เมล็ด

ขายเมล็ดกระพ้อ ปาล์มกระพ้อ
ขายเมล็ดกระพ้อ ปาล์มกระพ้อ เมืองระยอง ระยอง

ราคา 1.00 บาท /เมล็ด

จังหวัดที่ขายเมล็ดพันธุ์กะพ้อ

ปทุมธานี (1 ร้าน)

ระยอง (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด เมล็ดพันธุ์กะพ้อ ทั้งหมดในเว็บ

ต้นกล้ากะพ้อ

ปาล์มกะพ้อสี่สิบ
ปาล์มกะพ้อสี่สิบ สุไหงโกลก นราธิวาส

ราคา 299.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นกล้ากะพ้อ

นราธิวาส (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นกล้ากะพ้อ ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกะพ้อ ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Licuala spinosa Thunb.

ชื่อภาษาอังกฤษ : mangrove fan palm

ชื่ออื่นๆ : พ้อ, กะพ้อหนาม, กะพ้อเขียว

ลำต้น : ลำต้นแตกหน่อเป็นกอแน่น มีรอยกาบใบที่หล่นไป เรือนยอดเป็นรูปพัดหรือคล้ายร่มหรือครึ่งวงกลม

ใบ : เป็นใบประกอบมีลักษณะคล้ายฝ่ามือ กระจุกที่ปลายยอด ช่อใบรูปพัด ใบย่อยเว้าลึกถึงแก่นกลางและแผ่เป็นรัศมี 15-25 แฉก แผ่นแฉกใบพักจีบรูปขอบขนานหรือรูปลิ่ม ปลายแฉกตัดหรือหยิกซิกแซกไม่สม่ำเสมอเส้นใบแบบขนานตามความยาวของใบ ผิวเกลี้ยงผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีซีดกว่า ขอบก้านใบมีหนามโค้งเรียงไม่เป็นระเบียบ ขอบกาบมีรกหรือเส้นใยหยาบสีน้ำตาลสานกันห่อหุ้มลำต้น

ดอก : ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ช่อดอกตั้งขึ้นโค้งแล้วแผ่ออก ดอกตูมรูปทรงไข่ ไร้ก้านสีขาวแกมเขียวอ่อน

ผล : รูปทรงกลม ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกสีส้ม ผิวเกลี้ยงเป็นมันสีส้มหรือแดง เนื้อผลชุ่มน้ำผนังผลชั้นในบางและแข็งคล้ายหิน

เมล็ด : กลม

กะพ้อ

การขยายพันธุ์ของต้นกะพ้อ

เพาะเมล็ด แยกหน่อ

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นกะพ้อ

- ใบ แก้ท้องร่วง

- ยอด รักษาพิษโรคหนองใน

- หัว แก้อาการปวดศรีษะ

- ราก ใช้เป็นยาต้านพิษ

ประโยชน์ของต้นกะพ้อ

- ยอดอ่อนหรือหัว คั่วหรือปรุงอาหารรับประทาน

- นิยมนำมาจัดเป็นไม้ประดับให้สวยงาม


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกะพ้อแดง (3662)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Licuala paludosa Griff.
ชื่อวงศ์:  ARECACEAE (PALMAE)
ชื่อพื้นเมือง:  พ้อพรุ ขวน
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็น ปาล์ม ลำต้นเตี้ย เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 4-6 เซนติเมตร สูง 4-6 เมตร ลำต้นแตกหน่อเป็นกอ
    ใบ  เป็นใบประกอบรูปฝ่ามือ กาบใบสีส้ม ขอบกาบใบ มี รกเป็นเส้นใยสี น้ำตาลดำหุ้มลำต้น และมีลิ้นใบสี น้ำตาลแดงยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ก้านใบสีเหลืองส้ม ยาว 1-3 เมตร ที่ขอบมีหนามสั้นๆ แผ่นใบสีเขียวค่อนข้างกลม ขนาด 1 x 1เมตร มีใบย่อย 8-12 ใบ จักเว้าลึกถึงสะดือ ใบย่อยตรงกลางใหญ่สุด ปลายแยกเป็น 2 ส่วนบนฐานเดียวกัน ปลายใบหยักเป็นซี่ส่วนของกาบใบ ก้านใบ แกนกลางใบและกาบหุ้มช่อดอก มีขนละเอียดสีน้ำตาลปกคลุม
    ดอก  ช่อดอก ออกบริเวณซอกกาบใบเป็นช่อแยกแขนง ยาว 1-2 เมตร มี 6-10 แขนง แต่ละแขนง มี 5-7 ช่อย่อย
    ฝัก/ผล  ผลรูปไข่กลับ ขนาด 8-10 x 6-8 มิลลิเมตร มี 1 เมล็ด ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดง
    เมล็ด  กลม
ฤดูกาลออกดอก:  มกราคม – พฤษภาคม
การใช้ประโยชน์:  
    -    ไม้ประดับ
    -    บริโภค
    -    ก้านใบ เอาหนามออกผ่าเป็นตอกใช้มัดข้าวกล้า
แหล่งที่พบ:  พบในป่าพรุและบริเวณที่ลุ่มน้ำท่วมขัง ทั้งในที่ร่มและที่โล่ง
ส่วนที่ใช้บริโภค:
    -    ยอดอ่อนต้มจิ้มน้ำพริก
    -    ใบที่เป็นยอดอ่อนใช้ห่อข้าวเหนียวต้มจนสุกเป็น "ต้ม" ใช้เป็นขนมเดือนสิบ


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกะพ้อหนาม (3663)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Licuala spinosa Thunb.
ชื่อวงศ์:  PALMAE
ชื่อสามัญ:  Fan  Palm
ชื่อพื้นเมือง:  กะพ้อ กะพล้อ เจ้าเมืองตรัง
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ปาล์มลำต้นเตี้ยถึงขนาดกลาง สูง 3-4 ม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-10 ซม. ลำต้นแตกหน่อเป็นกอแน่นมีรอยกาบใบที่หล่นไป
    ใบ  มีลักษณะคล้ายฝ่ามือ เรียงเวียนสลับ ใบรูปกลม กว้างยาวประมาณ 1 ม. ก้านใบยาว 0.8-1 ม. ก้านใบและกาบใบมีหนามเล็กๆ ห่างๆ ใบประกอบด้วยกลุ่มใบย่อย 17-21 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีใบย่อยติดกัน 2-3 ใบ ใบย่อยรูปแถบ กว้าง 5-6 ซม. ยาวประมาณ 55 ซม. โคนสอบ ปลายตัด บางใบเว้าเป็นหางปลา ใบย่อยไม่มีก้าน ออกเป็นกลุ่มชิดกันที่ปลายก้านใบ ใบย่อยกลางเป็นแฉกลึก 3 แฉก
    ดอก  ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ห้อยลง ยาวประมาณ 2 ม. แยกแขนงเป็นช่อดอกย่อย 3-4 ช่อ ช่อดอกย่อยออกเป็นระยะห่างๆ กัน 15-27 ซม. ยาวประมาณ 30 ซม. มีกาบเป็นหลอดยาว ดอกออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม 2-3 ดอก ก้านดอกสั้นมาก ใบประดับรูปสามเหลี่ยมเล็กๆ กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย ปลายตัดสั้นมาก ดอกสีขาว กลีบดอกยาวกว่ากลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้ 6 อัน เกสรเพศเมียเล็กมาก
    ฝัก/ผล  รูปรี เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ซม.  ผลแก่สีแดง  มี 1 เมล็ด  ขนาด 10-12 มม.
    เมล็ด  กลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม.
ฤดูกาลออกดอก:  เกือบตลอดปี
การปลูก:  ปลูกเป็นไม้กระถางหรือในแปลง
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แหล่งที่พบ:  ตอนใต้ของไทยและพม่า ในป่าดงดิบชื้น