ค้นหาสินค้า

กระบาก

จำหน่ายต้นกระบาก กล้าและกิ่งพันธุ์กระบาก สอนการเพาะปลูกและสรรพคุณที่เป็นประโยชน์

กระบาก

ต้นกระบาก
ต้นกระบาก ท่าม่วง กาญจนบุรี

ราคา 7.00 บาท /ต้น

กระบาก
กระบาก นากลาง หนองบัวลำภู

ราคา 35.00 บาท

กระบาก กล้ากระบาก
กระบาก กล้ากระบาก เมืองตรัง ตรัง

ราคา 15.00 บาท /ต้น

ต้นกระบาก
ต้นกระบาก หนองเสือ ปทุมธานี

ราคา 50.00 บาท /ต้น

ต้นกระบาก
ต้นกระบาก แก่งคอย สระบุรี

ราคา 30.00 บาท /ต้น

กระบาก
กระบาก แก่งคอย สระบุรี

ราคา 30.00 บาท /ต้น

กะบาก No. 083
กะบาก No. 083 ปทุมธานี

กะบาก
กะบาก วังทอง พิษณุโลก

ราคา 10.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายกระบาก

กาญจนบุรี (1 ร้าน)

ตรัง (1 ร้าน)

ปทุมธานี (2 ร้าน)

พิษณุโลก (1 ร้าน)

สระบุรี (2 ร้าน)

หนองบัวลำภู (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด กระบาก ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกระบาก ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anisoptera costata Korth.

ชื่อภาษาอังกฤษ : Mesawa

ชื่ออื่นๆ : ตะบาก, กระบากขาว, บาก,พนอง,

ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นเปลาตรง มีพูพอนต่ำๆ เปลือกสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องเป็นสะเก็ดหนา

ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปรี ปลายใบมนหรือแหลมเป็นติ่งสั้นๆ โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสีน้ำตาลอมเหลือง แผ่นใบหนา

ดอก : ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ตั้งตรงตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม

ผล : รูปกลม ผิวเรียบ แห้ง มีปีก

เมล็ด : มี 1 เมล็ดต่อผล

กระบาก

การขยายพันธุ์ของต้นกระบาก

เพาะเมล็ด

การดูแลต้นกระบาก

ปลูกได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด เจริญเติบโตปานกลาง

ประโยชน์ของต้นกระบาก

- ชัน ใช้ผสมน้ำมันทาไม้ น้ำมันชักเงาอย่างดี ใช้ยาแนวเรือ

- เนื้อไม้ ใช้ทำไม้แบบ ลังใส่ของ เสา ฝา พื้น


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกระบาก (3858)

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Anisoptera  costata
ชื่อวงศ์:    Dipterocarpaceae
ชื่อสามัญ:    mersawa
ชื่อพื้นเมือง:    ตะบาก, กระบากขาว, กระบากโคก, กระบากช่อ, กระบากด้าง, กระบากดำ, กระบากแดง, ชอวาตาผ่อ, บาก, ประดิก, พนอง, หมีดังว่า
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบปกติ สูง 20-30 เมตร แต่อาจพบสูงถึง 40 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกหนาสีน้ำตาลเทา แตกร่อนและเป็นสะเก็ด เปลือกในเรียงซ้อนกันเป็นชั้นสลับกันระหว่างสีน้ำตาลแดง และสีเหลือง โคนต้นมักเป็นพูพอน
    ใบ    เป็นชนิดใบเดี่ยวติดเรียงสลับ ทรงใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน และรูปไข่กลับ กว้าง 3-8 ซม. ยาง 6-16 ซม. หลังใบเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ท้องใบมีสีน้ำตาลอมเหลือง เส้นแขนงใบมี 12-16 คู่ ขอบใบเรียบ
    ดอก    ขนาดเล็ก  ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่งและง่ามใบตอนปลายๆ กิ่ง  กลีบดอกมี  5  กลีบ สีขาวปนเหลืองอ่อน
    ฝัก/ผล    กลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ผิวเรียบ มีปีกยาว 2 ปีก
ฤดูกาลออกดอก:    ธันวาคม-กุมภาพันธ์
การขยายพันธุ์:    ใช้เมล็ดเพาะ
การดูแลรักษา:   ดินที่เหมาะสม คือ ดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์และการระบายน้ำดี   ชอบสภาพอากาศค่อนข้างชื้น-ชื้น ชอบแสง ในระยะแรกของการปลูกต้องการแสง 60-70%   
การใช้ประโยชน์:    - ใช้ประโยชน์ในการทำแบบหล่อคอนกรีต พื้น รอด ตง เรือมาด แจว พาย กรรเชียง ตัวถังเกวียนและรถ สันแปรง หีบใส่ของและหีบศพ
                             - ชันใช้ผสมน้ำมันทาไม้ น้ำมันชักเงา ยาแนวไม้และเรือ
                             - ปลูกเป็นแนวกันลม ควบคุมความชื้น รักษาระบบนิเวศของป่าดินและน้ำ
                             - ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
แหล่งที่พบ:    เป็นพรรณไม้หลักของป่าดิบแล้ง  และป่าเบญจพรรณทั่วประเทศที่สูงจากระดับน้ำทะเล  10 - 400  เมตร