ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamarindus indice L.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Indian date, Tamarind
ชื่ออื่นๆ : ขาม, ตะลูบ, หมากแกง
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลม หนาทึบ แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลม ลำต้นและกิ่งเหนียว ปลายกิ่งห้อยลู่ลง เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อนและแตกสะเก็ดเป็นร่องเล็กๆ
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ใบรูปขอบขนาน ปลายใบเว้าบุ๋มหรือมน โคนใบมน ออกใบเป็นคู่ๆ เรียงกันตามก้านใบแบบตรงข้าม แผ่นใบเรียบบางสีเขียว ใบอ่อนสีออกแดงเรื่อๆ หรือชมพู
ดอก : ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งและซอกใบ ดอกสีเหลืองประแต้มสีแดงส้ม
ผล : เป็นฝักกลม แบนเล็กน้อย คอดเป็นข้อตามเมล็ด และมีก้าน เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ข้างในผลมีเนื้อเยื่อ แรกๆ เป็นสีเหลืองอ่อน และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อผลแก่จัด มีรสเปรี้ยว บางพันธุ์อาจหวาน
เมล็ด : รูปค่อนข้างกลมแป้น เปลือกผิวเกลี้ยงมีสีน้ำตาลดำหรือสีน้ำตาลเข้ม
เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง, ทาบกิ่ง
ปลูกได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด
- ใบ เป็นยาแก้ไอ แก้โรคบิด ฟอกโลหิต ขับลมในลำไส้ รักษาหวัด ขับเหงื่อ เป็นยาถ่าย ยาระบาย แก้ตามัว หยอดตารักษาเยื่อตาอักเสบ
- ใบอ่อน แก้หวัด คัดจมูก
- ฝักดิบ ช่วยฟอกเลือดและลดความอ้วน เป็นยาระบาย ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย บรรเทาอาการไข้
- เนื้อในฝัก เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก ขับเสมหะ แก้ไอ กระหายน้ำ ฟอกโลหิตสตรีหลังคลอด
- เนื้อในเมล็ด ขับพยาธิไส้เดือนในลำไส้ แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน บำรุงกำลัง
- เปลือกเมล็ด แก้ท้องร่วง รักษาแผลสด รักษาแผลเบาหวาน
- เปลือกต้น แก้เหงือกบวม ฆ่าแมลงกินฟัน ฆ่าพยาธิผิวหนัง
- ทั้งต้น แก้ไข้ตัวร้อน
- แก่น รักษาฝีในมดลูก เป็นยาชักมดลูกให้เข้าอู่ ขับโลหิต ขับเสมหะ
- ราก แก้ท้องร่วง สมานแผล รักษาเริม และงูสวัด
- ดอกสด เป็นยาลดความดันโลหิตสูง
มะขามเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตกของบ้าน เพื่อป้องกันสิ่งไม่ดี ผีร้ายมิให้มากล้ำกลาย อีกทั้งต้นมะขามยังเป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ถือกันเป็นเคล็ดว่าจะทำให้มีแต่คนเกรงขาม
- เนื้อไม้ ใช้ทำเขียง ครก สาก กระดุมเกวียน หรือเผาถ่าน
- ใบอ่อน ดอก ฝักแก่ และฝักอ่อน นำไปใส่ต้มยำ ใส่อาหารเพิ่มความเปรี้ยวในอาหาร
- ผลของมะขาม มีทั้งเปรี้ยวและหวานนำมารับประทานเป็นผลไม้
- เมล็ดนำมาคั่วรับประทาน
- ผลของมะขามเปรี้ยว นำมาใช้ขัดผิว
- ต้น ปลูกให้ร่มเงา