ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นเขยตายแม่ยายชักปรก


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC.

ชื่ออื่นๆ : ลูกเขยตาย, ประยงค์ใหญ่, กระรอกน้ำ, น้ำข้าว, ส้มชื่น

ลำต้น : เป็นไม้พุ่ม ทรงพุ่มโปร่ง ลำต้นเป็นเหลี่ยม เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเทา ผิวลำต้นตกกระเป็นวงสีขาว

ดอก : ออกเป็นช่อออกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว มีกลิ่นหอม

ผล : มีเนื้อ รูปกลม ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูใส ฉ่ำน้ำ มีรสหวาน

เมล็ด : กลม เป็นลาย

ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก แผ่นใบค่อนข้างหนา ใบรูปรีหรือรูปไข่ โคนใบสอบเรียว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ ผิวใบทั้งสองด้านมีจุดต่อม หลังใบเรียบลื่นสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีอ่อนกว่า

ต้นเขยตาย

การขยายพันธุ์ของต้นเขยตายแม่ยายชักปรก

ชำกิ่ง ตอนกิ่ง และเพาะเมล็ด

การดูแลต้นเขยตายแม่ยายชักปรก

ปลูกในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด เจริญเติบโตเร็ว

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นเขยตายแม่ยายชักปรก

- ราก แก้พิษ ฝีภายในและภายนอก พิษแมลง พิษงู ขับน้ำนม แก้ไข้ และโรคผิวหนังพุพอง

- ใบ ลดรับน้ำตาลในเลือด แก้ไข้ แก้โรคตับ รักษาผิวหนังอักเสบ

- เนื้อไม้ เป็นยาขับน้ำนม เป็นยาแก้ฝี

- เปลือกต้น แก้พิษต่างๆ

- ดอกและผล แก้หิด

ประโยชน์ของต้นเขยตายแม่ยายชักปรก

- ผลสุกรับประทานได้

- ใบ ใช้เป็นอาหารของหนอนผีเสื้อ

- เนื้อไม้ ใช้ทำเครื่องมือการเกษตร

ต้นเขยตายแนะนำ

ดูสินค้าหมวด ต้นเขยตาย ทั้งหมดในเว็บ