ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นขมิ้นอ้อย ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma spp.

ชื่อภาษาอังกฤษ : Zedoary, Luya-Luyahan

ชื่ออื่นๆ : ว่านเหลือง, ขมิ้นขึ้น, แฮ้วดำ, ว่านขมิ้น

ลำต้น : เป็นไม้ล้มลุกโตเร็ว ลำต้นตั้งตรง แตกหน่อมาก ผิวเหง้าด้านนอกสีเทา เนื้อสีขาวแกมเหลืองไปจนถึงเหลืองสด มีรากมาก รากกลมมีเนื้อนุ่มภายใน ก้านใบหุ้มกันแน่นเป็นลำต้นเทียม

ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปหอกแกมขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบแคบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มและมีเส้นนูนตามลายของเส้นใบ เส้นกลางใบเป็นร่องเล็กน้อยและมีแถบสีน้ำตาล ผิวด้านหน้าเรียบ ท้องใบจะมีขนนิ่มเล็กน้อย

ดอก : ออกดอกเป็นช่อ ก้านดอกยาวพุ่งออกจากเหง้าที่อยู่ใต้ดิน ช่อดอกจะมีใบประดับ ดอกมีสีขาว ตรงปลายช่อดอกจะเป็นสีชมพู ส่วนดอกสีเหลืองจะบานจากล่างขึ้นข้างบน

ผล : เป็นแคบซูลรูปไข่ ผิวเรียบ แตกด้านข้าง

เมล็ด : รูปรี สีเทา

ต้นขมิ้น

การขยายพันธุ์ของต้นขมิ้นอ้อย

ใช้เหง้าหัวหรือแง่ง

การดูแลต้นขมิ้นอ้อย

เจริญได้ดีในดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์สูง ร่มเงารำไรและกลางแจ้ง ชอบอากาศค่อนข้างร้อนและมีความชุ่มชื้นในเวลากลางคืน

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นขมิ้นอ้อย

- ใบ ขับปัสสาวะ แก้ช้ำบวม

- เหง้า แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว สมานลำไส้ แก้ระดูขาว ขับปัสสาวะ ตำพอกแก้ฟกบวม แก้อักเสบ แก้พิษโลหิต แก้ลม รักษามะเร็งปากมดลูก มะเร็งในรังไข่ มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งต่อมไธรอยด์ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เนื้องอกธรรมดาของกล้ามเนื้อมดลูก รักษาอาการเลือดคั่ง เลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก รักษาระดูมาไม่ปกติ

ประโยชน์ของต้นขมิ้นอ้อย

ใช้เหง้าสดปรุงอาหารไทยและแต่งสีของอาหารบางชนิด

ต้นขมิ้นแนะนำ

ดูสินค้าหมวด ต้นขมิ้น ทั้งหมดในเว็บ