ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกระดุมทองเลื้อย ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ข้อเสีย สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์


ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นกระดุมทองเลื้อย : Wedelia trilobata (L.) Hitch.

ชื่อภาษาอังกฤษของต้นกระดุมทองเลื้อย : Climbing Wedelia, Singapore Dailsy

ชื่ออื่นๆ ของต้นกระดุมทองเลื้อย : เบญจมาศเครือ

ลักษณะลำต้นของต้นกระดุมทองเลื้อย : เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นแตกแขนงทอดราบไปตามพื้นดิน ปลายกิ่งชูตั้งขึ้น ลำต้นสีน้ำตาล รากแตกตามข้อ ทุกส่วน มีขนสากปกคลุม

ลักษณะใบของต้นกระดุมทองเลื้อย : เป็นใบเดี่ยว รูปรี ปลายแหลม โคนสอบ ขอบจักฟันเลื่อย ก้านใบสั้น ใบมีสีเขียวสด ใบแก่มีสีเขียวเข้ม เป็นมัน มีขนหยาบปกคลุม

ลักษณะดอกของต้นกระดุมทองเลื้อย : ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอด โคนช่อมีใบประดับ ดอกสีเหลือง ออกดอกตลอดปี

กระดุมทองเลื้อย
กระดุมทองเลื้อย

การขยายพันธุ์ของต้นกระดุมทองเลื้อย

การขยายพันธุ์ : ปักชำกิ่ง

การดูแลต้นกระดุมทองเลื้อย

การดูแล : ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดเต็มวัน ทนแล้ง

ข้อเสียของต้นกระดุมทองเลื้อย

มีแมลงศัตรูพืชคือเพลี้ยแป้ง

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นกระดุมทองเลื้อย

  1. ลำต้น และใบ ป้องกันตับจากสารพิษ และใช้เป็นยาพอกแผล แก้ฟกช้ำ
  2. ดอก ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันสายตาเสื่อม ลดอาการภูมิแพ้ บำรุงผิวพรรณ ป้องกันโรคมะเร็ง ป้องกันโรคเบาหวาน ลดไขมันในเส้นเลือด ป้อกงันโรคหัวใจ และหลอดเลือดตีบตัน

ประโยชน์ของต้นกระดุมทองเลื้อย

กลีบดอก บดเป็นผงใช้สำหรับเป็นสีผสมอาหารหรือสีย้อมผ้า น้ำมันจากเมล็ดกระดุมทองเลื้อย ใช้เป็นส่วนผสมกับเครื่องสำอาง และใช้สำหรับปรุงประกอบอาหาร นิยมปลูกเป็นไม้คลุมดินรักษาหน้าดิน ปลูกคลุมดินที่ลาดเอียงหรือริมสระน้ำธรรมชาติเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน ปลูกบริเวณแทนหญ้าในสนาม ควรตัดแต่งสม่ำเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นที่อยู่ของสัตว์มีพิษ

กระดุมทองแนะนำ

ดูสินค้าหมวด กระดุมทอง ทั้งหมดในเว็บ