ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นคูน : Cassia fistula L.
ชื่อภาษาอังกฤษของต้นคูน : Golden shower, Indian laburnum, Pudding - pine tree
ชื่ออื่นๆ ของต้นคูน : ชัยพฤกษ์, ราชพฤกษ์, ลมแล้ง
ลักษณะลำต้นของต้นคูน : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ลำต้นตรง เปลือกต้นเรียบ เกลี้ยง เปลือกนอกสีเทาอมน้ำตาล เปลือกในสีชมพู – สีแดง หรือสีส้ม เนื้อไม้สีแดงแกมเหลือง เรือนยอดเป็นรูปไข่แกมรูปร่ม แตกกิ่งมากบริเวณส่วนยอด
ลักษณะใบของต้นคูน : เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบสีเขียวมัน ใบรูปไข่ โคนใบมน ปลายใบแหลม เนื้อใบเกลี้ยค่อนข้างบาง เส้นแขนงใบถี่ หูใบค่อนข้างเล็ก หลุดร่วงได้ง่าย
ลักษณะดอกของต้นคูน : ออกเป็นช่อตามกิ่งหรือซอกใบ ช่อห้อยลงด้านล่าง ช่อดอกโปร่งยาวดอกสีเหลืองสด มักหลุดร่วงง่าย ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ลักษณะผลของต้นคูน : เป็นฝักรูปทรงกระบอก ผิวเรียบ เปลือกแข็ง ผักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีดำ แขวนห้อยลงจากกิ่ง
ลักษณะเมล็ดของต้นคูน : กลมมนและแบนสีน้ำตาล มีรสหวาน
หมายเหตุ : ต้นคูนเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทย
โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง เสียบยอด
ปลูกได้ในดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดเต็มวัน ทนดินเลว
เป็นไม้มงคลนิยมใช้ประกอบพีธีที่สำคัญ คนโบราณเชิ่อว่าหากปลูกต้นคูนไว้ประจำบ้านจะช่วยให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรี มีความเจริญรุ่งเรือง ใบของต้นคูนเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะในพิธีทางไสยศาสตร์ให้ใบทำน้ำพุทธมนต์สะเดาะเคราะห์ได้ผลดี ควรปลูกต้นคูนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้าน
เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ เนื้อของผักแก่นำมาใช้แทนกากน้ำตาล ฝักแก่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ฝักนำมาสกัดใช้ทำเป็นยาฆ่าแมลง ฆ่าหนอนกินผัก และเป็นส่วนผสมของสารฟอกหนัง ใบอ่อน ยอดอ่อน และดอกใช้เป็นส่วนผสมหรือใช้เป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะดอกใช้เป็นอาหารสัตว์สำหรับกระตุ้นให้เนื้อมีสีเข้มมากขึ้น นิยมปลูกเป็นต้นไม้ประดับและให้ร่มเงาตามริมถนน และสถานที่ต่างๆ