ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นโมกหลวง ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Holarrhena antidysenterica Wall, ex A. DC.

ชื่อภาษาอังกฤษ : Kurchi, Easter Tree, Conessi Bark, Tellicherry Tree

ชื่ออื่นๆ : โมกใหญ่ พุด พุทธรักษา, มูกมันน้อย มูกมันหลวง มูกหลวง โมกเขา โมกทุ่ง ยางพุด หนามเนื้อ

ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น เปลือกเรียบ ทุกส่วนมีนํ้ายางสีขาว

ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายใบมน ผิวใบสีเขียวแกมเหลือง ด้านล่างมีขนนุ่ม ใบร่วงได้ง่าย

ดอก : ออกเป็นช่อ ออกตรงบริเวณปลายยอด ดอกสีขาว มีกลิ่นหอม

ผล : เป็นฝักยาวออกเป็นฝักคู่ ปลายฝักแหลม โคนฝักแบน พอฝักแก่เต็มที่จะแตกเป็น 2 ซีก

เมล็ด : แบน สีน้ำตาล มีหลายเมล็ด มีขนสีนวลติดเป็นกระจุกที่ปลายเมล็ด

ต้นโมกหลวง

การขยายพันธุ์ของต้นโมกหลวง

เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นโมกหลวง

- ราก ขับโลหิตระดู

- แก่น แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เปลือกต้น รสร้อนฝาดเมา แก้บิด เป็นยาเจริญอาหาร แก้ไข้พิษ

- ดอก เป็นยาถ่ายพยาธิ ช่วยเพิ่มความยากในการรับประทานอาหาร

- ใบ แก้ไข้ แก้บิด ถ่ายพยาธิในลำไส้เล็ก และรักษาโรคผิวหนัง ไฟลามทุ่ง ทำให้เคลิ้มฝัน รักษาหลอดลมอักเสบ รักษาแผลพุพอง ขับน้ำนม ช่วยระงับอาการปวดกล้ามเนื้อ รักษาฝี

- เปลือกต้น เป็นยาทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงธาตุทั้งสี่ให้เจริญ เป็นยาแก้เบาหวาน แก้ไข้จับสั่น แก้ไข้พิษ แก้เสมหะเป็นพิษ แก้โรคลำไส้ รักษาท้องร่วง แก้บิด แก้โรคท้องมาน แก้ดีพิการ ขับน้ำเหลืองเสีย

- เมล็ด ช่วยขับลม ช่วยในการขับถ่าย ช่วยแก้ท้องเสีย ท้องเดิน แก้บิด เป็นยาถ่ายพยาธิในลำไส้เล็ก เป็นยาฝาดสมาน สมานท้องลำไส้

- กระพี้ ช่วยฟอกโลหิต

- ผล แก้วัณโรคของสตรีอันอยู่ในเรือนไฟ ช่วยขับโลหิต

ประโยชน์ของต้นโมกหลวง

- เนื้อไม้ สีขาวละเอียด นิยมใช้ทำเครื่องเรือนเครื่องใช้ เช่น ตะเกียบ พัด โต๊ะ ตู้

- ปลูกเป็นไม้ประดับ

ต้นโมกหลวงแนะนำ

ดูสินค้าหมวด ต้นโมกหลวง ทั้งหมดในเว็บ