ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นพุิกล : Mimusops elengi L.
ชื่อภาษาอังกฤษของต้นพุิกล : Bullet wood, Headland flower, Tanjong tree, Asian bulletwood, Spanish cherry
ชื่ออื่นๆ ของต้นพุิกล : กุน, ซางดง, พิกุลเถื่อน, พิกุลป่า, พิกุลเขา
ลักษณะลำต้นของต้นพุิกล : เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มกลมหนาทึบ แผ่กว้าง เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตามแนวยาว ทั้งต้นมียางสีขาว กิ่งอ่อนและตามีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุม เนื้อไม้ด้านในเป็นไม้เนื้อแข็งสีอมเหลืองอ่อนๆ
ลักษณะใบของต้นพุิกล : เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบรูปรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน โคนใบมน ขอบใบเป็นคลื่นและห่อขึ้น ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้นๆ แผ่นใบค่อนข้างหนาและเหนียว สีเขียวสด เรียบเป็นมัน
ลักษณะดอกของต้นพุิกล : เป็นดอกเดี่ยวออกรวมกันเป็นกระจุกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกสีขาวนวล เมื่อใกล้โรยเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ดอกบานวันเดียวแล้วร่วง ออกดอกตลอดปี ดอกมีกลิ่นหอม
ลักษณะผลของต้นพุิกล : เป็นผลเดี่ยวแบบผลสดรูปไข่ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกมีสีแดง หรือสีแดงอมส้ม เนื้อในสีเหลือง
ลักษณะเมล็ดของต้นพุิกล : สีน้ำตาลเข้ม หรือดำเป็นมัน แบนรี เปลือกแข็ง
โดยการเพาะเมล็ด
ปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด ทนต่อสภาพแวดล้อม สามารถปลูกได้ในพื้นที่ดินเค็ม
ลำต้นมักมีเชื้อราทำให้เป็นโรคเนื้อไม้ผุ และมักโค่นล้มง่ายเมื่อมีพายุ
- ใบ ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อกามโรค ทำบุหรี่ รักษาโรคหืด ฆ่าพยาธิ
- ดอก เข้ายาหอม บำรุงหัวใจ แก้เจ็บคอ แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ขับเสมหะ แก้ท้องเสีย แก้ปวดหัว
- ผล แก้ท้องเสีย แก้ปวดศรีษะ และแก้โรคในลำคและปาก
- เปลือก แก้เหงือกบวม รำมะนาด
- เมล็ด เป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคท้องผูก
- กระพี้ แก้เกลื้อน
- แก่นที่ราก เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต ขับลม
- แก่นลำต้น เป็นยาบำรุงโลหิต แก้ไข้
เชื่อกันว่าการปลูกต้นพิกุล ไว้ในบ้านจะทำให้มีอายุยืนยาว เนื่องจากต้นพิกุลเป็นไม้ที่มีความแข็งแรงทนทาน และมีอายุยาวนาน อีกทั้งยังเชื่อว่าเป็นต้นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ควรปลูกต้นพิกุลทองทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผู้ปลูกควรปลูกในวันจันทร์ หรือวันเสาร์ เพราะคนโบราณเชื่อว่า การปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ ถ้าจะให้เป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง ผู้ปลูกควรเป็นสุภาพสตรี
- นิยมปลูกให้ร่มเงาบริเวณลานจอดรถ หรือ ริมถนน และปลูกเพื่อประดับอาคาร
- เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้าง ทำเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องดนตรี
- เนื้อไม้มีกลิ่นหอม เรียกว่า "ขอนดอก" นำมาเป็นส่วนประกอบของยาหอม
- ผล ผลสุกรับประทานได้ รสหวานอมฝาด เป็นผลไม้ของคนและสัตว์
- ดอก นำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย ใช้ในการแต่งกลิ่นอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมในน้ำหอม ใช้แต่งกลิ่นทำเครื่องสำอาง น้ำจากดอกใช้กลั้วปากและคอได้
- เปลือก ใช้สกัดทำสีย้อมผ้า