ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นขนุนแดงสุริยา ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การปลูก การดูแล ประโยชน์


ชื่อวิทยาศาสตร์ : ARTOCARPUS HETEROPHYLLUS LAMK.

ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น

ใบ : ใบออกสลับเป็นรูปรี ปลายแหลม โคนมน

ดอก : เป็นขนุนพันธุ์เบา มีดอกติดผลได้ง่าย ดอกแยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้ออกที่โคนต้น กิ่งก้าน และง่ามใบ ลักษณะเป็นแท่งยาว ดอกตัวเมียออกตามลำต้น มีก้านช่อดอกใหญ่ กว่าก้านช่อดอกตัวผู้ชัดเจน ดอกเป็นแท่งเหมือนกัน แต่ดอกตัวผู้จะมีกลิ่นหอมคล้ายส่าเหล้า ดอกตัวเมียไม่มีกลิ่น

ผล : เป็นผลรวม รูปกลมรี เนื้อมีความหนา แข็งไม่เละ เนื้อในไม่เป็นสนิม แกนกลางเล็ก มียางน้อย สีของเนื้อสวยเป็นสีแดงเข้ม รสชาติหวานกรอบไม่เละมีกลิ่นหอม ให้เนื้อเยอะมากกว่า 52 เปอร์เซ็นต์ของนํ้าหนักผล เมื่อผลแก่จัดจะไม่แตกอ้า ติดผลดกอย่างสม่ำเสมอ สามารถติดผลอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ใช้เวลาปลูก 3 ปีให้ผลผลิต

ต้นขนุน

การขยายพันธุ์ของต้นขนุนแดงสุริยา

เสียบยอดกับตอขนุนพื้นเมือง ทาบกิ่ง และติดตา

การปลูกของต้นขนุนแดงสุริยา

ระยะระหว่างต้น และระหว่างแถวห่างกัน 6?6 เมตร ขุดหลุมลึกและกว้างประมาณ 60?60 ซม. ใส่ปุ๋ยคอกผสมกับดินที่ขุดขึ้นมาให้เต็มหลุม ลงปลูกให้ดินปากถุงเสมอกับหน้าดิน อย่าปลูกลึกเพราะจะทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ช้า

การดูแลต้นขนุนแดงสุริยา

ปลูกได้ในดินร่วน ชอบแดดเต็มวัน รดนํ้า 1-2 วันครั้ง ใส่ปุ๋ยคอกทุกๆ 3 เดือน สลับกับการใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 ทุกๆ 2 เดือน มีความทนทานต่อโรคพันธุ์ไม้ได้ดีและทนความแห้งแล้ง

ประโยชน์ของต้นขนุนแดงสุริยา

นิยมปลูกเพื่อเก็บผลกินในครัวเรือนและปลูกเพื่อเก็บผลแกะเนื้อขาย

ต้นขนุนแนะนำ

ดูสินค้าหมวด ต้นขนุน ทั้งหมดในเว็บ
ขนุนเหลืองบางเตย
ขนุนเหลืองบางเตย ปทุมธานี

ราคา 1,500.00 บาท /ต้น

ต้นขนุน
ต้นขนุน สระบุรี

ราคา 500.00 บาท /นิ่ว