ชื่อวิทยาศาสตร์ของมันจาวพร้าว : Dioscorea alata L
ชื่ออื่นๆ ของมันจาวพร้าว : มันพร้าว,มันจาวมะพร้าว,มันจาว,มันเลือด,มันเสา
ลักษณะลำต้นของมันจาวพร้าว : เป็นไม้เลื้อย รากสีชมพู เถาเป็นสันเหลี่ยม มีครีบ ลำต้นเลื้อยพันไปทางขวา ไม่มีหนามแต่บางครั้งเป็นปุ่มปม หรือโคนเป็นรอยหยาบ มีหัวขนาดเล็กตามซอกใบ (หัวอากาศ) และหัวใต้ดินขนาดใหญ่ สีน้ำตาล เนื้อสีขาวครีมจนถึงสีม่วง รูปทรงหลายแบบ ยาวตรงหรือกลม
ลักษณะใบของมันจาวพร้าว : เป็นใบเดี่ยว รูปหัวใจ ขอบใบเรียบ มีเส้นใบ 5 เส้น แผ่นใบและก้านใบมีสีเขียวอ่อน
ลักษณะดอกของมันจาวพร้าว : ออกเป็นช่อ แยกเพศแยกต้น ดอกตัวผู้ขนาดเล็ก ก้านช่อสีเขียว ดอกตัวเมียสีเหลือง ไม่มีก้านดอก
ลักษณะผลของมันจาวพร้าว : เป็นผลเดี่ยว มีปีกโค้งรูปครึ่งมงกลมสามแฉก ผิวเรียบ ปลายผลเว้าเล็กน้อย โคนกลมเป็นติ่งแหลมสั้น ๆ แก่แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
ลักษณะเมล็ดของมันจาวพร้าว : กลม มีปีกโดยรอบ
ด้วยหัวอากาศหรือใช้หัวใต้ดินขนาดเล็ก ปักชำเถา และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
หัวใต้ดิน เป็นยาขับพยาธิ แก้โรคเรื้อนและริดสีดวงทวาร
- หัวมันจาวประกอบอาหารคาวและของหวาน เนื้อเหนียวนุ่ม รสชาดอร่อย มันออกหวานนิดๆ
- หัวมันจาวแปรรูปเป็นแป้ง
- หัวมันจาวสีม่วงนำไปทำไอศกรีมและขนมหวาน
- หัวมันจาวผสมในกุนเชียงแทนมันหมูได้