ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นผักเหลียง : Gnetumgnemon Limm
ชื่อภาษาอังกฤษของต้นผักเหลียง : Baegu
ชื่ออื่นๆ ของต้นผักเหลียง : ผักเหมียง,ผักเขลียง,ผักเปรียง,กะเหรียง,ผักกระเหรี่ยง
ลักษณะลำต้นของต้นผักเหลียง : เป็นไม้ยืนต้น เนื้อไม้ค่อนข้างอ่อน ผิวเปลือกเรียบ เปลือกอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
ลักษณะใบของต้นผักเหลียง : เป็นใบเดี่ยว ออกมาจากปลายยอดของต้นและกิ่ง คล้ายใบยางพารา แผ่นใบรูปร่างรี ปลายใบเรียวแหลม แผ่นใบบางแต่เหนียว ใบอ่อนมีสีแดงอมส้ม มีรสหวานมัน ก้านใบยาว
ลักษณะดอกของต้นผักเหลียง : ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกสีเหลืองนวล ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียออกต่างต้นกัน ดอกตัวผู้มีช่ขนาดดอกและช่อดอกเล็กกว่าดอกตัวเมีย
ลักษณะผลของต้นผักเหลียง : รูปกรวย เปลือกค่อนข้างหนา ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลือง เนื้อผลมีรสหวาน
ลักษณะเมล็ดของต้นผักเหลียง : สีน้ำตาล
การเพาะเมล็ด กิ่งตอน และปักชำ
ปลูกในที่ร่ม ในดินร่วนซุย มีฝนตกชุกและต่อเนื่อง
- ใบ มีเบต้าแคโรทีนสูงกว่าผักบุ้งจีนถึง 3 เท่า มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง มีแคลเซียม ช่วยในการบำรุงร่างกาย บำรุงเส้นเอ็น บำรุงกระดุก บำรุงสายตา แก้โรคซางในเด็ก และแก้แผลร้อนใน
- ยางจากลำต้น สามารถใช้ทาลอกฟ้า ช่วยให้ผิวหน้าขาวใสขึ้น
- เมล็ด ใช้คั่วรับประทานเป็นของขบเคี้ยวคล้ายถั่ว
- นิยมปลูกในกระถางเพื่อประดับในบ้านเรือน
- ช่วยในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ป้องกันการกัดเซาะหน้าดิน ช่วยชะลอการไหลซึมของน้ำ ช่วยให้หน้าดินชุ่มชื้นนาน ช่วยป้องกันไฟป่า ช่วยบำรุงดิน ป้องกันหน้าดินแข็ง
- ปลูกเป็นพืชแซม เอื้อต่อการเติบโต และให้ผลผลิตของพืชหลักในบริเวณเดียวกัน
- ใบอ่อน นำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง มีรสชาติอร่อย หวานมัน มีคุณค่าทางโภชนการสูง หรือรับประทานสดกับอาหารอื่น ๆ