ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นไคร้ย้อย : Elaeocarpus grandiflorus Sm.
ชื่อภาษาอังกฤษของต้นไคร้ย้อย : Blue Olive Berry,Fairy Petticoats,Lily of the valley
ชื่ออื่นๆ : กาบพร้าว, คล้ายสองหู, จิก, ดอกปีใหม่, แต้วน้ำ, มุ่นน้ำ, สารภีน้ำ, กระดิ่งน้ำฟ้า
ลำต้นของต้นไคร้ย้อย : เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มค่อนข้างกลม เรือนยอดแผ่กว้าง พุ่มใบทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อนค่อนข้างเรียบ มีรอยด่างสีขาวสลับสีน้ำตาลเข้มกระจาย ทั่วทั้งลำต้น
ใบของต้นไคร้ย้อย : เป็นใบเดี่ยว รูปรีถึงรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบจักซี่ฟัน แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ใบอ่อนสีเขียวอมเหลือง ใบแก่แข็งสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบแบนยาว
ดอกของต้นไคร้ย้อย : ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อดอกห้อยลง ดอกตูมสีน้ำตาลปนแดง ดอกบานสีขาวนวล มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกออกตลอดปี
ผลของต้นไคร้ย้อย : เป็นผลสดทรงกระสวย หรือรูปรี ผิวบางเรียบเกลี้ยง สีเขียวอ่อน เมื่อสุกสีเขียวอมเหลือง มีรสขมเฝื่อน
เมล็ดของต้นไคร้ย้อย : รูปกระสวย สีน้ำตาล มีเนื้อและชั้นห่อหุ้มเมล็ดแข็ง
โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ และตอนกิ่ง
ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง-มาก ชอบแดดตลอดวัน เจริญเติบโตเร็ว ทนน้ำท่วมขังได้สูง
ผลและเมล็ด เป็นยาขับปัสสาวะ
เชื่อว่าเป็นดอกแห่งความโชคดี บ้านที่ปลูกไว้หากวันใดต้นไม้ออกดอกก็จะพาให้คนในบ้านมีโชคดี
- นิยมปลูกประดับให้ร่มเงา หรือไม้กระถาง
- นิยมปลูกริมน้ำ เพื่อกันดินพังทลาย
- ผลเป็นอาหารของนก
- ชาวเหนือนิยมนำดอกไปบูชาพระ