ใช้วิธีปลูกพรรณไม้ลงดินในกระบะหรือกระถาง แล้วปล่อยให้ต้นเติบโต ทอดเลื้อยไปตามผนังหรือโครงสร้างเพื่อยึดเกาะ เช่น โครงเหล็ก โครงไม้ ลวดสะลิง หรือเชือกไนลอน ควรเลือกไม้เลื้อยตามปริมาณแสงที่บริเวณนั้นได้รับ
ประกอบด้วยโครงสร้างหลัก 3 อย่าง คือ โครงเหล็ก สำหรับรับน้ำหนักของสวนแนวตั้งทั้งหมด แผ่นพีวีซียึดกับโครงเหล็กทำหน้าที่เป็นชั้นกันน้ำ และถุงผ้าทำหน้าที่แทนภาชนะปลูกอาจทำจากวัสดุพอลิอาไมด์ หรือผ้าใยสังเคราะห์ที่นิยมใช้กันมากคือ จีโอเท็กซ์ไทล์ เพราะทนทาน ดูดซับน้ำและสารละลายได้ดี รากพืชสามารถยึดเกาะได้ แล้วใช้ลวดเย็บยึดติดกับผนัง เว้นระยะของถุงผ้าเพื่อระบายอากาศเป็นช่วงๆ แล้วเดินระบบน้ำหยดไปตามโครงสร้างเพื่อให้น้ำและสารอาหาร ควรเลือกพรรณไม้ที่โตช้า และดูแลรักษาง่าย ถ้าเป็นปรรณไม้ที่โตเร็วจะต้องหมั่นตัดแต่งสม่ำเสมอเพื่อควบคุมการเจริญเติบโต
เป็นบล็อกคอนกรีตหรือดินเผา มีช่องใส่ต้นไม้และเจาะรูระบายให้น้ำไหลผ่านลงมา เดินระบบน้ำหยดให้ผ่านแต่ละบล็อกตามระยะที่เหมาะสม รูปแบบนี้เหมาะกับพื้นที่ที่ไม่มีโครงสร้างให้ยึดบล็อก
ใช้แผ่นหรือถาดพลาสติก หรือโลหะที่มีน้ำหนักเบายึดกับโครงเหล็ก โดยแบ่งเป็นช่องๆ เพื่อบรรจุพรรณไม้ เหมาะกับการปลูกพืชขนาดเล็กเนื่องจากมีพื้นที่บรรจุวัสดุปลูกน้อย ควรเลือกพรรณไม้ที่มีระบบรากตื้น เนื่องจากระบบนี้มีพื้นที่ใส่วัสดุปลูกน้อย เช่นไม้คลุมดินขนาดเล็ก หรือพืชอวบน้ำ
โดยออกแบบโครงเหล็กเป็นช่องสำหรับใส่กระถางให้เอียงซ้อนกันในแนวตั้ง นิยมใช้กระถางพลาสติกที่มีรูระบายน้ำ เพราะมีน้ำหนักเบา ข้อดีของสวนแนวตั้งประเภทนี้คือ สามารถเปลี่ยนกระถางได้ตามต้องการ อาจใช้ไม้กระถางเปล่าขนาด 8 นิ้วเป็นฐาน แล้วใช้ไม้กระถางขนาด 6 นิ้วซ้อนขึ้นไป พรรณไม้ควรเป็นชนิดที่ทอดเลื้อยหรือห้อยลงเป็นระย้า เพื่อบดบังกระถางและโครงสร้างเหล็ก