ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นแก้วเจ้าจอม : Guaiacum officinale L.
ชื่อภาษาอังกฤษของต้นแก้วเจ้าจอม : Lignum Vitae, Kaeo chao chom, Guaiac wood
ลักษณะลำต้นของต้นแก้วเจ้าจอม : เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นคดงอ เปลือกต้นสีเทาเข้ม กิ่งมีข้อพองเห็นเป็นปุ่มๆ ต้นแตกใบเป็นพุ่มแผ่กว้างทรงกลม เรือนยอดทึบ
ลักษณะใบของต้นแก้วเจ้าจอม : ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ มี 2 สายพันธุ์ คือ ใบย่อย 2 คู่ และ 3 คู่ ใบรูปไข่กลับหรือรูปรี ขนาดไม่เท่ากัน ปลายใบมน โคนใบสอบ เนื้อใบเหนียวและหนาเล็กน้อย ผิวของใบเป็นมันสีใบเขียวเข้ม
ลักษณะดอกของต้นแก้วเจ้าจอม : เป็นดอกเดี่ยวออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกบานวันแรกสีฟ้าอมม่วง จากนั้นสีจะซีดลงเป็นสีขาว เกสรสีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ลักษณะผลของต้นแก้วเจ้าจอม : กลมแบน ปลายผลมีติ่งแหลม เปลือกแข็ง ผลสีเหลืองหรือสีส้ม
ลักษณะเมล็ดของต้นแก้วเจ้าจอม : รูปรี สีน้ำตาล
โดยการตอนกิ่ง และเพาะเมล็ด
ปลูกได้ในดินร่วนระบายน้ำดี ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดเต็มวัน เจริญเติบโตค่อนข้างช้า
- ยางไม้ ใช้เป็นยาขับเสมหะ ยาระบาย ขับเหงื่อ แก้ข้ออักเสบ
- ใบ กินแก้อาการท้องเฟ้อ
- เปลือก เป็นยาระบาย
- ดอก เป็นยาบำรุงกำลัง และยาระบาย
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา