ชื่อวิทยาศาสตร์ของอินทนิลน้ำ : Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.
ชื่อภาษาอังกฤษของอินทนิลน้ำ : Pride of India, Queen’s crape myrtle, Queen's Flower
ชื่ออื่นๆ : อินทนิล ตะแบกดำ (กรุงเทพมหานคร) บางอบะซา (นราธิวาส)
ลำต้นของอินทนิลน้ำ : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ เรือนยอดกลมแผ่กว้างคลุมต่ำ เปลือกนอกสีน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบ ไม่แตกเป็นร่องหรือเป็นรอยแผลเป็น มีรอยด่างเป็นดวงสีขาว เปลือกในสีส้ม หรือน้ำตาลอ่อน ตอนต้นเล็กคดงอ แต่พอใหญ่ขึ้นจะเปลาตรง โคนต้นไม่ค่อยพบพูพอน
ใบของอินทนิลน้ำ : เป็นใบเดี่ยว รูปรี หรือรูปขอบขนาน โคนใบมนหรือกลม ขอบใบเรียบห่อยกขึ้น ปลายใบแหลมเป็นติ่ง แผ่นใบค่อนข้างหนาและเหนียว สีเขียวสด เรียบเป็นมัน ใบอ่อนสีเขียวอมน้ำตาล มีขนละเอียดรูปดาว
ดอกของอินทนิลน้ำ : ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อดอกชูตั้งขึ้นเหนือเรือนยอด ดอกสีม่วงสด ม่วงปนชมพู หรือขาว กลีบดอกบางยับย่น ส่วนบนสุดของดอกตูมจะมีตุ่มกลมเล็กๆ ตั้งอยู่ตรงกลาง
ผลของอินทนิลน้ำ : แห้งแก่แล้วแตกกลางพู รูปไข่ เปลือกแข็ง ผิวเกลี้ยง มีกลีบเลี้ยงติดตรงจุกผล เมื่อสุกสีน้ำตาล
เมล็ดของอินทนิลน้ำ : สีน้ำตาลอมเหลือง แบน มีปีกเป็นครีบบางๆ ทางด้านบน
โดยการเพาะเมล็ด
- แก่น: แก้โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ
- เปลือก: แก้ไข แก้ท้องเสีย
- ใบ: ต้มหรือชงแก้เบาหวาน ขับปัสสาวะ
- เมล็ด: แก้เบาหวาน นอนไม่หลับ
- ราก แก้แผลในปากและคอ
- ใบ ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสด
- เนื้อไม้ นิยมใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนและเครื่องมือการเกษตรต่าง ๆ
- ปลูกประดับอาคารสถานที่ สวนสาธารณะ และทางเดินริมถนน