ดอกของต้นอินทนิลบก : ออกเป็นช่อยาวที่ปลายกิ่ง ช่อดอกตั้งขึ้น ไม่เหนือเรือนยอด ดอกตูมเป็นรูปลูกข่าง ส่วนบนมีรอยปุ๋มตามยาว ดอกสีม่วงอมชมพูและจะจางซีดลงเป็นสีขาวอมชมพูกลีบดอกบางและย่น เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะทิ้งใบหมดเหลือเพียงดอกอย่างเดียว
ผลของต้นอินทนิลบก : เป็นผลแห้งรูปไข่หรือรูปรี เปลือกแข็ง เกลี้ยง ผลแก่จะแตก
เมล็ดของต้นอินทนิลบก : มีขนาดเล็ก สีน้ำตาล สีปีกบางโค้งทางด้านบนหนึ่งปีก
ใบของต้นอินทนิลบก : เป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ปลายใบมนหรือแหลมเล็กน้อย โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนา ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน แผ่นใบสีเขียวสดเป็นมัน ก้านใบยาว
ลำต้นของต้นอินทนิลบก : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกระบอก ไม่แผ่เป็นพุ่มกว้าง ปลายกิ่งชูขึ้น เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา ลำต้นเป็นปุ่มปม แตกเป็นร่องตื้นๆ หลุดร่อนเป็นสะเก็ดเล็กๆ โคนต้นเป็นพูพอน
ชื่ออื่นๆ : กากะเลา (อุบลราชธานี), กาเสลา กาเสา (ตะวันออกเฉียงเหนือ), จ้อล่อ จะล่อ จะล่อหูกวาง (ภาคเหนือ)
ชื่อภาษาอังกฤษของต้นอินทนิลบก : Intanin bok
ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นอินทนิลบก : Lagerstroemia macrocarpa Wall. ex Kurz
โดยการเพาะเมล็ด และกิ่งตอน
ปลูกได้ในดินทั่วไป ต้องการน้ำปานกลางถึงสูง ชอบแดดเต็มวัน ทนแล้งได้ดี
- แก่น รสขม ต้มดื่มแกโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้โรคเบาหวาน
- เปลือก รสฝาดขม แก้ไข้ แก้ท้องเสีย
- ใบ รสจืดขมฝาดเย็น ต้มหรือชงน้ำร้อนดื่ม แก้โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะเป็นยาลดความดัน
- เมล็ด รสขม แก้โรคเบาหวาน แก้นอนไม่หลับ
- ราก รสขม แก้แผลในปาก ในคอ เป็นยาสมานท้อง
- ปลูกเป็นไม้ประดับสวน หรือริมถนน ให้ร่มเงา
- เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้าง ทำเสา กระดานพื้น เครื่องเรือน และเครื่องมือทางการเกษตร
- ใบ เป็นพืชอาหารของหนอนผีเสื้อกลางคืน